สารอาหารอีกประเภทหนึ่ง
เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
แต่ร่างกายขาดไม่ได้เพราะร่างกายต้องนำสารอาหารเหล่านี้ไปเป็นส่วนประกอบของร่างกายและช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง
ๆ ให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงต้องรับประทานเป็นประจำ สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เราจะพบวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และในอาหารหลากหลายชนิด
1.
วิตามิน (vitamin)
วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
เพื่อควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย วิตามินไม่ให้พลังงาน
ถ้าแต่ขาดวิตามินจะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ วิตามินที่นักเรียนควรรู้จัก ได้แก่
วิตามินเอ บี1 บี2 บี3 หรือไนอะซิน บี6 บี12 ซี ดี อี และ เค
วิตามินจำแนกตามลักษณะของการละลายได้เป็น
2 ประเภท ดังนี้
1.1 วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่
วิตามินบีและวิตามินซี
1.2 วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่
วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
วิตามินต่าง ๆ เหล่านี้มีในอาหารหลายชนิด
มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และถ้าขาดวิตามินจะมีผลต่อร่างกายหลายประการ
ดังแสดงในตาราง
ตารางที่ 1 แหล่งอาหาร ประโยชน์ของวิตามิน
และอาหารที่เกิดเมื่อขาดวิตามินชนิดต่าง ๆ
วิตามิน
|
แหล่งอาหาร
|
ประโยชน์
|
อาการที่เกิดเมื่อขาดวิตามิน
|
เอ
(ละลายในไขมัน)
Retinol
|
ตับ
ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา ผักบุ้ง มะละกอสุก ข้าวโพด ผักและผลไม้
|
ช่วยบำรุงสายตา
รักษาสุขภาพผิวหนัง
|
1.
ไม่สามารถมองเห็นได้ในที่สลัว
2.
นัยน์ตาแห้ง ตาอักเสบ
3.
ผิวหนังแห้ง
|
บี2
(ละลายในน้ำ)
Riboflavin
|
ไข่
นม เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผักใบเขียว
|
ช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ
ทำให้ผิวหนัง ลิ้น ตา มีสุขภาพดี แข็งแรง
|
1.
ไม่สามารถมองเห็นได้ในที่สลัว
2.
นัยน์ตาแห้ง ตาอักเสบ
3.
ผิวหนังแห้ง
|
บี3
(ละลายในน้ำ)
Niacin
|
ตับ
เนื้อสัตว์ ยีสต์ ถั่ว ผักใบเขียว
|
ช่วยป้องกันโรคประสาท
|
1.
อ่อนเพลีย
2.
ผิวแห้ง
3.
ประสาทหลอน
4.
ปกและลิ้นอักเสบ
|
บี6
(ละลายในน้ำ)
Pyridoxine
|
ตับ
นม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
เนื้อสัตว์
|
ช่วยทำการทำงานของระบบย่อยอาหารและบำรุงผิวหนัง
|
1.
คันตามผิวหนัง
2.
ผมร่วง
3.
ปวดตามง่ามมือและ ง่ามเท้า
|
บี12
(ละลายในน้ำ)
Cyanocobalamine
|
ตับ
ไข่ เนื้อปลา แบคทีเรียในลำไส้ สามารถสังเคราะห์ได้
|
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
|
1.
โลหิตจาง
2.
เจ็บลิ้น เจ็บปาก
3.
เส้นประสาทไขสันหลังเสื่อมสภาพ
|
ซี
(ละลายในน้ำ)
Ascorbic acid
|
ผลไม้จำพวกส้ม
มะละกอ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี มะขามป้อม
|
ช่วยรักษาสุขภาพของฟันและเหงือกทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
และมีความต้นทานโรค
|
1.
เลือดออกตามไรฟัน
2.
หลอดเลือดฝอยเปราะ
3.
เป็นหวัดได้ง่าย
4.
เจ็บปวดที่ข้อ
|
วิตามิน
|
แหล่งอาหาร
|
ประโยชน์
|
อาการที่เกิดเมื่อขาดวิตามิน
|
ดี
(ละลายในไขมัน)
caleilerol
|
นม
ไข่ ตับ น้ำมันตับปลา รังสี UV เปลี่ยนสารใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามินได้
|
ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อใช้สร้างกระดูก
|
1.
เป็นโรคกระดูกอ่อน
2.
ฟันผุ
|
อี
(ละลายในไขมัน)
tocopherol
|
ผักสีเขียว
ไขมันจากพืช ข้าวโพด ถั่วลิสง มะพร้าว
|
ช่วยให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
ไม่เป็นหมัน
|
1.
เป็นหมัน อาจทำให้แท้งได้
2.
ทำให้เกิดโรคโลหิตจางในเด็กชายอายุ 6 เดือนถึง 2 ขวบ
|
เค
(ละลายในไขมัน)
phylioguinone
|
ตับ
ผัก ข้าวโพด เห็ด แบคทีเรียในลำไส้สามารถสังเคราะห์ได้
|
ช่วยให้เลือดเป็นลิ่มเร็ว
|
เลือดเป็นลิ่มช้า
ทำให้เสียเลือดมากเวลามีบาดแผล
|
วิตามินมีหลายชนิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
แต่วิตามินที่เราพบในผลไม้เกือบทุกชนิด คือ วิตามินซี
ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยให้สุขภาพดี ฟันและเหงือกแข็งแรง
ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค วิตามินซีพบได้ง่ายในผลไม้จำพวกฝรั่ง ส้ม มะละกอ
มะขามป้อม มะเขือเทศ และผลไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น