ads by google

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สารปนเปื้อนในอาหาร


           สารปนเปื้อนในอาหาร เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์
ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตราย ต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้ สารปนเปื้อนในอาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภท คือ
            1. สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้
                      1.1 สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น สารอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารที่สร้างจากเชื้อราพวกแอสเพอร์จิลลัส
(Aspergillus spp.) รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล็ดพืชที่ชื้น ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถทำลายสารอะฟลาทอกซินได้
ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดมะเร็งตับ
                      1.2 สารพิษจากเห็ดบางชนิด ทำให้เมา มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
                      1.3 สารพิษในพืชผัก เช่น ผักขี้หนอน เมล็ดมะกล่ำตาหนู และเมล็ดสบู่ดำ
ภาพที่ 8 ถั่วลิสง
ที่มาhttp://bbznet.pukpik.com/s
ภาพที่ 7 เห็ดพิษ
ที่มาhttp://bbznet.pukpik.com/s

            2. สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีดังนี้
                        2.1 สารตกค้างจากการเกษตร เช่น ดีดีที ปุ๋ย สารปราบศัตรูพืช ซึ่งอาจสะสมในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไป
จะเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
                        2.2 สิ่งเจือปนในอาหาร           แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                                    1) สารกันอาหารเสีย เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ รส กลิ่น เหมือนเมื่อแรกผลิต และเก็บไว้ได้นาน
เช่น สารกันบูด สารกันหืน
                                    2) สารแต่งกลิ่นหรือรส เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกในผู้บริโภค เหมือนเมื่อแรกผลิต
aa และเก็บไว้ได้นาน เช่น สารกันบูด สารกันหืน
                                                - เครื่องเทศ
                                                - สารกลิ่นผลไม้
                                                - สารรสหวานประเภทน้ำตาลเทียม ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล
                                                - ผงชูรสเป็นสารประกอบที่เรียกว่า “มอโนโซเดียมกลูตาเมต”
ถ้าเป็นผงชูรสปลอมจะใช้สารโซเดียมเมตาฟอสเฟตและบอแรกซ์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมาก
                                    3) สีผสมอาหาร เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น
มีทั้งสีจากธรรมชาติซึ่งเป็นสีที่ได้จากพืชและสัตว์ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น สีดำจากถ่าน สีแดงจากครั่ง
ส่วนใหญ่มีสารประกอบของตะกั่วและโครเมียมปนอยู่ เช่น สีย้อมผ้า
ภาพที่ 9 ใบเตยให้สีเขียว
ที่มาhttp://www.dek-buriram.com
ภาพที่ 10 ดอกกระเจี๊ยบแดงให้สีแดง
ที่มาhttp://www.technonp.ac.th/student3/Onnicha/3.html
ภาพที่ 11 ดอกอัญชันให้สีม่วง
ที่มาhttp://www.openthaisite.com/herbal_bluepea.html
ภาพที่ 12 ขมิ้นให้สีเหลือง
ที่มา: http://www.nokroo.com
            สารพิษปนเปื้อนในอาหารที่ควรทราบ มีดังนี้
1. ดินประสิว มีสูตรเคมี KNO3 นิยมใส่ในอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ทำให้เนื้อเปื่อย สีแดง รสดี และเก็บไว้ได้นาน
ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
2. ปรอท พิษจากสารปรอทที่ไปสะสมในสมอง ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ความจำเสื่อม เป็นอัมพาต ประสาทของเด็ก
ในครรภ์จะถูกทำลาย นิ้วมือหงิกงอ ปัญญาอ่อน และอาจตายได้ อาการเช่นนี้เรียกว่า “โรคมินามาตะ”
3. ตะกั่ว พิษตะกั่วเกิดจากการใช้สีและไอเสียรถยนต์ จะทำลายเซลล์สมอง  ทำลายเม็ดเลือดแดง ปวดศีรษะ เป็นอัมพาต
4. โครเมียม สารประกอบของโครเมียมใช้ทำสีย้อม พิษของโครเมียม  เป็นอันตรายต่อปอดและผิวหนัง
5. แคดเมียม มีพิษต่อปอดและไต ทำให้เกิดโรคอิไต – อิไต
6. สารหนู ทำให้เกิดโรคไข้ดำ มีอาการอาเจียน ปอดท้องรุนแรง เป็นตะคริว
7. สารกันบูด สารที่นิยมใช้เป็นสารกันบูด ได้แก่ กรดซาลิซิลิก กรดบอริก และโซเดียมเบนโซเอต
8. น้ำประสานทองหรือบอแรกซ์ มีชื่อทางเคมีว่า “โซเดียมบอเรต (sodium borate)” ขาวบ้านเรียกว่า “ผงกรอบ” หรือคนจีนเรียกว่า
“เพ่งแซ” ใช้ใส่ลูกชิ้น  แป้งกรอบ ทำให้ไตอักเสบได้
9. ผงเนื้อนุ่ม คือ บอแรกซ์ผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต สารนี้ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดอาการคล้าย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
มีพิษต่อไตและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
10. น้ำตาลเทียม คือ สารให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล เช่น
   - ซอร์บิทอล     หวานกว่าน้ำตาลทราย 2 ใบ 3 เท่า
   - ไซคลาเมต    หวานกว่าน้ำตาลทราย 30 เท่า
   - แอสพาร์เทม หวานกว่าน้ำตาลทราย 180 เท่า ใช้แทนน้ำตาลในเครื่องดื่ม ลูกกวาด หมากฝรั่ง
   - ขัณฑสกรหรือแซ็กคาริน  หวานกว่าน้ำตาลทราย 550 เท่า เป็นน้ำตาลเทียม ถ้ารับประทานมากจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ท้องเดิน ชัก ใช้แทนน้ำตาลทรายสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและผู้ที่อ้วนมาก
            อาหารบางชนิดเป็นพิษต่อผู้บริโภค ซึ่งอาการที่เกิดจากสารพิษแต่ละชนิดจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. อาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน คือ การเกิดอาการเป็นพิษภายหลังจากรับประทานอาหารนั้น ๆ เข้าไปไม่นานนัก ภายในเวลา
2 – 6 ชั่วโมง ลักษณะอาการที่พบ คือ ท้องเสียรุนแรง คลื่นไส้ หายใจไม่ออก เป็นอัมพาตในเวลารวดเร็ว อาจถึงตายได้
2. อาการเป็นพิษแบบเรื้อรัง คือ การเกิดอาการเป็นพิษ เนื่องจากรับประทานอาหาร ที่มีสิ่งเป็นพิษปะปนอยู่ในปริมาณน้อย
และมีการสะสมอย่างต่อเนื่องมากขึ้นทุกวัน จนมีปริมาณสารพิษในร่างกายมากขึ้น อาการจึงจะแสดงออกมาตามลักษณะ
อาการของพิษและชนิดของสาร

แนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร
1. เลือกซื้ออาหารที่มั่นใจว่าไม่มีสารพิษเจือปน
2. แช่ผักและผลไม้ในสารละลายน้ำส้มสายชูหรือสารละลายด่างทับทิมก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง
3. เลือกรับประทานอาหารที่ใช้สีปรุงแต่งจากธรรมชาติ
4. เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหารนั้น ๆ

น้ำ (water)


           น้ำ เป็นสารอาหารที่มีมากที่สุดในร่างกาย เพราะร่างกายประกอบด้วยน้ำ 3 ใน 4 ของน้ำหนักตัว
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์และเนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายของเรา มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 3
ไขสันหลังมีน้ำเป็นส่วนประกอบร้อยละ 99 เนื่องจากน้ำมีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น ทำให้ผิวพรรณสดชื่น เป็นตัวทำละลายที่ดี
ช่วยในการเผาผลาญอาหารในร่างกายให้เป็นปกติ นำสารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยผ่านเข้าสู่เซลล์และผ่านออกจากเซลล์
นอกจากนี้ น้ำยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เปลี่ยนตามสภาวะแวดล้อม                  
          นักเรียนจะเห็นว่าน้ำมีประโยชน์มากมาย ดังที่กล่าวมาแล้ว ถ้านักเรียนขาดน้ำหรือสูญเสียน้ำมากไปจะเกิดโทษหลายประการ
เช่น จะมีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ผิวแห้ง เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ แห้ง   ปริมาณโปรตีนในเลือดเข้มข้น ปริมาณโซเดียมและ
แร่ธาตุต่าง ๆ เข้มข้นมากขึ้น  อาจทำให้หมดสติ
          ร่างกายของมนุษย์สูญเสียน้ำได้ทางอวัยวะต่อไปนี้ ผิวหนังขับน้ำในรูปของเหงื่อ ไตขับน้ำออกในรูปของปัสสาวะ
ปอดขับไปกับลมหายใจออก ลำไส้ใหญ่ขับน้ำไปกับอุจจาระ และทางอื่น ๆ ร่างกายเสียน้ำในรูปของน้ำตา น้ำลาย น้ำมูก
แต่ในปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว
 
ภาพที่ 6 น้ำ (water)
ที่มาhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000087060
  
ตารางที่ 5 ปริมาณน้ำในอาหารส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
อาหาร
ปริมาณน้ำ (ร้อยละ)
ประเภท
ชนิด
เนื้อสัตว์
ไก่ (เนื้ออก)
ปลาทู (สด)
วัว (เนื้อไม่มีมัน)
หมู (เนื้อ)
75.5
72.0
70.5
50.0
แป้ง
เส้นก๋วยเตี๋ยว (สุก)
ข้าวต้ม
ข้าวโพด (ต้ม)
ข้าวเหนียว
76.0
66.8
66.5
11.9
ผัก
แตงกวา (ปอกเปลือก)
ฟักเขียว
กะหล่ำปลี (ต้มสุก)
หัวปลี
ผักบุ้งจีน (ดิบ)
ดอกแค
95.7
95.6
93.9
90.2
89.7
87.4
ผลไม้
แตงโม
ส้มเขียวหวาน
มะละกอ
สับประรด
มะม่วงสุก
กล้วยน้ำว้า
92.2
91.2
86.4
84.9
83.9
66.5

แร่ธาตุ (minerals)


          แร่ธาตุ เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เพราะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในอวัยวะบางอย่าง
เป็นส่วนประกอบของสารต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ซึ่งมีแร่ธาตุประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักตัว และช่วยในการควบคุมการทำงาน
ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่เป็นปกติ 
ประโยชน์ของแร่ธาตุที่มีต่อต่างกาย มีดังนี้
- เป็นส่วนประกอบของอวัยวะบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท
- เป็นส่วนประกอบของสารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำในเซลล์
- ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำหน้าที่เป็นปกติ
ร่างกายมีความต้องการแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิดและต้องการในปริมาณที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 2 แหล่งอาหาร ประโยชน์ และอาการเมื่อขาดแร่ธาตุ
แร่ธาตุ
แหล่งอาหาร
ประโยชน์
อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ
แคลเซียม
(Ca)
ปลาไส้ตัน กุ้งแห้ง
เนยแข็ง นมสด ไข่ ผัก
- เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน
- ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
และการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ช่วยในการถ่ายทอดกระแสประสาท
- โรคกระดูกอ่อน
- การทำงาน
ของกล้ามเนื้อผิดปกติ
- เลือดแข็งตัวยาก
ฟอสฟอรัส
(P)
กุ้ง ปลาไส้ตัน ไข่
นมสด ถั่วเหลือง
ผักใบเขียว
- เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน
- รักษาสมดุลของกรดและเบส
ในร่างกาย
- ช่วยในการสร้างเซลล์สมอง
และประสาท
- โรคกระดูกอ่อน
- อ่อนเพลีย
โพแทสเซียม
(K)
เนื้อสัตว์ นม กล้วย
ผักสีเขียว ส้ม ถั่ว ข้าว
เห็ด ไข่
- ควบคุมระดับของเหลวในเซลล์
- การทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท
- เลือดไหลไม่หยุด
- การทำงานของกล้ามเนื้อ
และระบบประสาทผิดปกติ
- เบื่ออาหาร ซึมเซา
เหล็ก
(Fe)
ไข่แดง ผักสีเขียว ตับ
เนื้อวัว งาดำ
- เป็นส่วนประกอบ ของเฮโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดง
- เป็นส่วนประกอบ ของเอนไซม์บางชนิด
- โรคโลหิตจาง
- อ่อนเพลีย
ไอโอดีน
(I)
เกลือแกง นม ไข่
อาหารทะเล
- ป้องกันโรคคอพอก
- เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน 
ไทรอกซินที่ต่อมไทรอยด์
- ถ้าเด็กขาดจะเตี้ย แคระแกร๊น
สติปัญญาเสื่อม
- ในผู้ใหญ่จะเป็นโรคคอหอย-
พอกธรรมดา
โซเดียม (Na)
อาหารทะเล น้ำปลา
เกลือแกง ไข่ นม เนย
- ช่วยรักษาสมดุลของน้ำ
และความเป็นกรดในร่างกาย
- ควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อ
และระบบประสาท
- เบื่ออาหาร เป็นตะคริว ชัก
หมดสติ คลื่นไส้ ความดันต่ำ
แมกนีเซียม (Mg)
รำข้าว ผักสีเขียว ถั่ว
นม งา อาหารทะเล
- ควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อ
และระบบประสาท
- ควบคุมการสร้างโปรตีน
- เป็นส่วนประกอบของกระดูก
และเลือด
- เกิดอาการผิดปกติทาง
ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
อาจเกิดอาการชัก
กำมะถัน
(S)
ไข่ เนื้อสัตว์ นม- จำเป็นต่อการสร้างโปรตีน
ในร่างกาย
-
ฟลูออไรด์
(F)
น้ำดื่มจากบ่อธรรมชาติ
ิบางแห่งอาหารทะเล
- ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
- เป็นส่วนประกอบ ของสารเคลือบฟัน
ทำให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ
- ฟันผุง่าย

แร่ธาตุมีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์มาก คือ เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ
ในร่างกายของมนุษย์ในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ดังตาราง
ตารางที่ 3 ปริมาณแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ ที่พบในร่างกายของมนุษย์
แร่ธาตุ
ปริมาณที่พบในร่างกาย (กรัม)
แร่ธาตุ
ปริมาณที่พบในร่างกาย (กรัม)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม
กำมะถัน
โซเดียม
คลอรีน
แมกนีเซียม
เหล็ก
1295
700
245
175
105
105
35
2.8
แมงกานีส
ทองแดง
ไอโอดีน
โคบอลต์
ฟลูออรีน
โมลิบดีนัม
สังกะสี
ซีลีเนียม
0.21
0.08
0.28
น้อยมาก
น้อยมาก
น้อยมาก
น้อยมาก
น้อยมาก
ตารางที่ 4 ร้อยละของแร่ธาตุในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ
เนื้อเยื่อ/อวัยวะ
ร้อยละของแร่ธาตุ
ผิวหนัง
เลือด
กล้ามเนื้อ
ตับ
สมอง
กระดูก
0.6
0.9
1.0
1.0
1.0
4.5

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน วิตามิน (vitamin)



สารอาหารอีกประเภทหนึ่ง เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ร่างกายขาดไม่ได้เพราะร่างกายต้องนำสารอาหารเหล่านี้ไปเป็นส่วนประกอบของร่างกายและช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงต้องรับประทานเป็นประจำ สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เราจะพบวิตามิน  แร่ธาตุต่าง ๆ และในอาหารหลากหลายชนิด 
1. วิตามิน (vitamin)
วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย เพื่อควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย วิตามินไม่ให้พลังงาน ถ้าแต่ขาดวิตามินจะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ วิตามินที่นักเรียนควรรู้จัก ได้แก่ วิตามินเอ บี1 บี2 บี3 หรือไนอะซิน บี6 บี12 ซี ดี อี และ เค
วิตามินจำแนกตามลักษณะของการละลายได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
                        1.1 วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบีและวิตามินซี
                        1.2 วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
วิตามินต่าง ๆ เหล่านี้มีในอาหารหลายชนิด มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และถ้าขาดวิตามินจะมีผลต่อร่างกายหลายประการ ดังแสดงในตาราง 
ตารางที่ 1 แหล่งอาหาร ประโยชน์ของวิตามิน และอาหารที่เกิดเมื่อขาดวิตามินชนิดต่าง ๆ
วิตามิน
แหล่งอาหาร
ประโยชน์
อาการที่เกิดเมื่อขาดวิตามิน
เอ
(ละลายในไขมัน)
Retinol

ตับ ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา ผักบุ้ง มะละกอสุก ข้าวโพด ผักและผลไม้
ช่วยบำรุงสายตา รักษาสุขภาพผิวหนัง
1. ไม่สามารถมองเห็นได้ในที่สลัว
2. นัยน์ตาแห้ง ตาอักเสบ
3. ผิวหนังแห้ง
บี2
(ละลายในน้ำ)
Riboflavin

ไข่ นม เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผักใบเขียว
ช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ ทำให้ผิวหนัง ลิ้น ตา มีสุขภาพดี แข็งแรง
1. ไม่สามารถมองเห็นได้ในที่สลัว
2. นัยน์ตาแห้ง ตาอักเสบ
3. ผิวหนังแห้ง
บี3
(ละลายในน้ำ)
Niacin

ตับ เนื้อสัตว์ ยีสต์ ถั่ว ผักใบเขียว
ช่วยป้องกันโรคประสาท
1. อ่อนเพลีย
2. ผิวแห้ง
3. ประสาทหลอน
4. ปกและลิ้นอักเสบ
บี6
(ละลายในน้ำ)
Pyridoxine

ตับ นม ถั่วลิสง               ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์
ช่วยทำการทำงานของระบบย่อยอาหารและบำรุงผิวหนัง
1. คันตามผิวหนัง
2. ผมร่วง
3. ปวดตามง่ามมือและ           ง่ามเท้า
บี12
(ละลายในน้ำ)
Cyanocobalamine

ตับ ไข่ เนื้อปลา แบคทีเรียในลำไส้ สามารถสังเคราะห์ได้
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
1. โลหิตจาง
2. เจ็บลิ้น เจ็บปาก
3. เส้นประสาทไขสันหลังเสื่อมสภาพ
ซี
(ละลายในน้ำ)
Ascorbic acid

ผลไม้จำพวกส้ม มะละกอ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี มะขามป้อม
ช่วยรักษาสุขภาพของฟันและเหงือกทำให้หลอดเลือดแข็งแรง และมีความต้นทานโรค
1. เลือดออกตามไรฟัน
2. หลอดเลือดฝอยเปราะ
3. เป็นหวัดได้ง่าย
4. เจ็บปวดที่ข้อ




วิตามิน
แหล่งอาหาร
ประโยชน์
อาการที่เกิดเมื่อขาดวิตามิน
ดี
(ละลายในไขมัน)
caleilerol

นม ไข่ ตับ น้ำมันตับปลา รังสี UV เปลี่ยนสารใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามินได้
ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อใช้สร้างกระดูก
1. เป็นโรคกระดูกอ่อน
2. ฟันผุ
อี
(ละลายในไขมัน)
tocopherol

ผักสีเขียว ไขมันจากพืช ข้าวโพด ถั่วลิสง มะพร้าว
ช่วยให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง ไม่เป็นหมัน
1. เป็นหมัน อาจทำให้แท้งได้
2. ทำให้เกิดโรคโลหิตจางในเด็กชายอายุ 6 เดือนถึง            2 ขวบ
เค
(ละลายในไขมัน)
phylioguinone
ตับ ผัก ข้าวโพด เห็ด แบคทีเรียในลำไส้สามารถสังเคราะห์ได้
ช่วยให้เลือดเป็นลิ่มเร็ว
เลือดเป็นลิ่มช้า ทำให้เสียเลือดมากเวลามีบาดแผล


 




วิตามินมีหลายชนิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่วิตามินที่เราพบในผลไม้เกือบทุกชนิด คือ วิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยให้สุขภาพดี ฟันและเหงือกแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค วิตามินซีพบได้ง่ายในผลไม้จำพวกฝรั่ง ส้ม มะละกอ มะขามป้อม มะเขือเทศ และผลไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด

สารอาหารที่ให้พลังงาน ไขมัน




ไขมัน ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายบางชนิด เช่น อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ไขมันทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยดูดซึมวิตามินบางชนิด และร่างกายเก็บไขมันไว้มันใช้เวลาว่างที่ร่างกายขาดแคลนสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี หน่วยเล็กที่สุดของไขมัน คือ กรดไขมันและกลีเซอรอล
การทดสอบหาสารอาหารประเภทไขมันทำได้โดยนำอาหารที่ต้องการทดสอบไปถูกับกระดาษสีขาวแล้วยกกระดาษขึ้นให้แสงผ่าน ถ้าอาหารที่นำมาทดสอบมีสารอาหารประเภทไขมันประกอบอยู่ แผ่นกระดาษตรงบริเวณที่ถูกับอาหารจะมีลักษณะโปร่งแสง


สารอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีน (protein)


2. โปรตีน (protein)


โปรตีน ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และกำมะถัน (S) โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายหลายประการ เช่น เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ กล้ามเนื้อ เฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนเอนไซม์ และแอนติบอดี โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี หน่วยเล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน

สารอาหารประเภทโปรตีนทดสอบได้โดยการเติมสารละลายคอปเปอร์ (
II) ซัลเฟตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในอาหารที่นำมาทดสอบ การทดสอบวิธีนี้มีชื่อเรียกว่า “การทดสอบไบยูเรต” ถ้าอาหารที่นำมาทดสอบมีสารอาหารประเภทโปรตีนประกอบอยู่ด้วย สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง สีชมพูอมม่วง หรือสีน้ำเงิน 


สารอาหารที่ให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)


ารอาหารที่ให้พลังงาน
          สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) คาร์โบไฮเดรต แปลว่า คาร์บอนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ เป็นสารที่ใช้พลังงานแก่ร่างกาย หน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายนำไปใช้มาก คือ กลูโคส ซึ่งสะสมอยู่ในตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงาน ไกลโคเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสพร้อมที่จะใช้ได้ทันที แต่ถ้ามีมากเกินไปจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีขนาดโมเลกุลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบ เช่น กลูโคสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ชูโครสหรือน้ำตาลทราย ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล คือ กลูโคส และฟรุกโทส ส่วนแป้งเป็น         คาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ประกอบด้วยกลูโคสหลายพันโมเลกุลเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว
การทดสอบน้ำตาลกลูโคสด้วยสารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนเป็นสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำตาล ถ้าปริมาณน้ำตาลน้อย สีของสารละลายอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลือง ถ้าปริมาณน้ำตาลมากอาจได้สีแสดหรือสีน้ำตาลปนแดง

อาหารและสารอาหาร


อาหารและสารอาหาร 

าหาร (food) คือ สิ่งที่รับประทานได้ ไม่เป็นพิษ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต มีภูมิต้านทานโรค เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ไข่ดาว  หมูทอดกระเทียม ขนมปัง และผลไม้
            ารอาหาร (nutrient) คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        1. สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
                        2. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ

บทนำ อาหารและสารอาหาร

บทนำ อาหารและสารอาหาร



               อาหารมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโต และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ในแต่ละวันเซลล์นับล้านเซลล์จะตายลงเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ผิวหนัง บางครั้งอาจเกิดบาดแผล ในกรณีเหล่านี้ร่างกายจำเป็นต้องสร้างเซลล์มาทดแทน  นอกจากนั้นอาหารยังเป็นแหล่งของพลังงาน เซลล์ต้องการพลังงานสำหรับปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในเซลล์ โดยเซลล์จะสลายสารอาหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานสำหรับปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์แสง สัตว์ต้องการพลังงานเพื่อกระบวนการต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนที่ การเต้นของหัวใจ             การส่งกระแสประสาท สัตว์บางชนิดใช้พลังงานเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่